วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554

ผักพื้นบ้านมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

สรรพคุณ / ประโยชน์ของตำลึง
คุณค่าทางอาหารของตำลึง
ยอดของตำลึงใช้ปรุงอาหาร ตำลึง 100 กรัม ประกอบไปด้วยโปรตีน 3.3 กรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ใยอาหาร 2.2 กรัม และเบต้าแคโรทีนสูงถึง 699.88 ไมโครกรัม มากกว่าฟักทองและมันเทศซึ่งมีเบต้าแคโรทีน 225 และ 175 ไมโครกรัมตามลำดับ ต่อปริมาณ 100 กรัมเหมือนกัน
ประโยชน์ของตำลึง
ใบดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง ต้น ใบ ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง
สรรพคุณของตำลึง
1.รักษาโรคเบาหวาน : ใช้เถาแก่ ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้
2.ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ : ควรรับประทานสด ๆ เพราะเอนไซม์ในตำลึงจะย่อยสลายง่ายเมื่อโดนความร้อน
3.ลดอาการคัน อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ : นำใบตำลึงสด 2-20 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ คั้นเอาน้ำ ทาบริเวณที่เป็นจนกว่าจะหาย (ใช้ได้ดี สำหรับหมดคันไฟ หรือใบตำแย)
4.แผลอักเสบ : ใช้ใบหรือรากสด ตำพอกบริเวณที่เป็น
5.แก้งูสวัด, เริม : ใช้ใบสด 2 กำมือ ล้างให้สะอาด ผสมพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน พอกหรือทาบริเวณที่เกิดอาการ
6.แก้ตาช้ำตาแดง : ตัดเถาเป็นท่อนยาวประมาณ 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำ แล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา
7.ทำให้ใบหน้าเต่งตึง : นำยอดตำลึง 1/2 ถ้วย น้ำผึ้งแท้ 1/2 ถ้วย นำมาผสม ปั่นให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ 20 นาที แล้วล้างออก ทำทุกวันได้จะดีมาก
- ใบใช้ในการแก้ไข้ ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
- เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
- ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
- รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
- น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด


สรรพคุณ และ ประโยชน์ของแตงโมอ่อน
คุณค่าทางอาหารของแตงโมอ่อน
แตงโมอ่อน 100 กรัม ให้พลังงาน 11 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.2 กรัม แคลเซียม 2 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม เหล็ก 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.03 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 28 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของแตงโมอ่อน
ผลอ่อนนิยมนำมา ต้มจืด ต้มจิ้มน้ำพริก แกงส้ม แกงเลียง อุดมไปด้วยวิตามินซีและฟอสฟอรัสเหมาะเป็นอาหารลดความอ้วน เพราะให้พลังงานต่ำสารอาหารที่ค่อนข้างน้อยคือข้อด้อยของแตงโม แต่รสเย็นของแตงโมก็ช่วยได้ในเรื่องระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารแถมผลไม้ในใจของหลายคนนี้ยังมีคุณค่าทางสมุนไพร อาทิ รากมีน้ำยางใช้กินแก้อาหารตกเลือดหลังการแท้ง ใบใช้ชงเป็นยาลดไข้ ผลที่แสนอร่อยนั้นมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยย่อย แก้เบาหวาน และดีซ่าน เมล็ดมีโปรตีนสูง ช่วยบำรุงร่างกาย ปอด สมอง มิน่าเล่าเวลามีเม็ดกวยจี๊อยู่ตรงหน้าเราจึงมีสมาธิดีเลิศกินเสร็จก็ปลอดโปร่งบอกไม่ถูก
สรรพคุณของแตงโมอ่อน
แตงโมใช้เป็นสมุนไพรได้ทั้งเนื้อและเมล็ดในเนื้อมีสาร Citrulline ถอนพิษสุราและแก้กระหายน้ำรวมทั้งแก้ร้อนในส่วนเมล็ดเป็นยาเย็นและขับปัสสาวะ นอกจากนี้ยังเชื่อว่า การกินแตงโมช่วยบำรุงกำลังและเจริญปัญญาอีกด้วยเปลือก นำไปต้มกับน้ำตาลทรายดื่มแก้อาการเจ็บคอนำไปย่างไฟแล้วบดเป็นผงทาแผลในปาก เมล็ด เป็นยาเย็นใช้ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย และเป็นยาระบายอ่อนๆ


สรรพคุณ และ ประโยชน์ของชะอม
อีกหนึ่งผักดี ๆ ที่อยากจะแนะนำและจัดว่าเป็นสมุนไพรไทยอีกด้วยนั้นคือ ชะอม นั่นเองค่ะ และเราก็มาพร้อมกับสาระน่ารู้กันอีกเช่นเคยกับ สรรพคุณของชะอมและประโยชน์ของชะอม หลายคนที่ชอบกินน้ำพริกกระปิน่าจะชอบชะอมนะ ทำไมต้องชอบชะอมนั่นเหรอค่ะ ก็ไข่เจียวชะอมไงกินคู่กับน้ำพริกกะปิอร่อยมากมายเลยทีเดียวค่ะ แต่ สรรพคุณของชะอม และ ประโยชน์ของชะอม ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้เพราะมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรก็ช่วยให้เรื่องของการรักษาสุขภาพและรักษาโรคได้อีกด้วย
สรรพคุณ / ประโยชน์ของชะอม
คุณค่าทางอาหารของชะอม
ยอดชะอมใบอ่อนมีรสจืดกลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกายยอดชะอม 100 กรัมให้พลังงานกับสุขภาพ 57 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยเส้นใย 5.7 กรัม แคลแซียม 58 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม เหล็ก 4.1 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10066 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัมวิตามินบีสอง 0.25 มิลลิกรัม ในอาซิน 1.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 58 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของชะอม
ส่วนที่เป็นผักฤดูกาล "ยอดอ่อนใบอ่อน" เป็นไม้ที่ออกยอดทั้งปีแต่จะออกมากในฤดูฝน ชาวเหนือนิยมรับประทานยอดชะอมหน้าแล้งเพราะผักชะอมหน้าฝนจะมีรสเปรี้ยวกลิ่นฉุนบ้างครั้งทำให้ปวดท้อง การปรุงอาหารชะอมเป็นผักที่รับประทานได้ในทุกภาคของเมืองไทย วิธีการปรุงเป็นอาหารคือรับประทานเป็นผักจิ้มโดยการลวกหรือนึ่งให้สุกหรือใช้ยอดอ่อนใบอ่อนเด็ดเป็นชิ้นสั้น ๆแล้วชุบกับไข่ทอดรับประทาน ร่วมกับน้ำพริกกะปิชาวเหนือรับประทานร่วมกับ ส้มตำมะม่วง ตำส้มโอ นอกจากนี้ชาวเหนือและชาวอีสานยังนิยมนำไปปรุงเป็นแกงเชน ชาวอีสานมักนำไปแกงรวมกับปลา ไก่ เนื้อ กบ เขียด ต้มเป็นอ่อมหรือแกง แกงลาว และ แกงแค ของชาวเหนือเป็นต้น
สรรพคุณของชะอม
ใบอ่อนที่เรามักนำมาประกอบอาหารนั้นก็มีสรรพคุณช่วยลดความร้อนในร่างกาย รากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งมีลูกอ่อนนั้นไม่ควรกินชะอมเพราะจะทำให้น้ำนมแห้ง
- ราก แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ่อ ขับลมในลำใส
- แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า
วันนี้เรานำพริกชี้ฟ้าอีกหนึ่งสมุนไพรเผ็ดร้อนที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานเรียกได้ว่าขาดกันไม่เลย ฉะนั้นแล้วเราก็มาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของพริกชี้ฟ้า และ ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า พริกชี้ฟ้า เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วประโยชน์ใช้ส้อยของมันนั้นมีมากขนาดไหนทั้ง ต้ม ผัด แกง ทอด เรียกได้ว่าแทบทุกเมนูของอาหารไทยต้องมีพริกชี้ฟ้า
สรรพคุณ / ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า
คุณค่าทางอาหารของพริกชี้ฟ้า
- พริกชี้ฟ้าแดง 100 กรัม ให้พลังงาน 72 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 84.0 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 2.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10.1 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 18 มิลลิกรัม เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.16 มิลลิกรัม ไนอะซิน 3.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 168 มิลลิกรัม
- พริกชี้ฟ้าเขียว 100 กรัม ให้พลังงาน 53 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 85.2 กรัม โปรตีน 1.5 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10.6 กรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 192 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.07 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 204 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของพริกชี้ฟ้า
1. ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดและทำให้การหายใจสะดวกขึ้น สารแคปไซซินที่อยู่ในพริกมีคุณสมบัติช่วยลดน้ำมูกหรือสารกีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องจากการเป็นหวัด
2. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยลดความดัน ทั้งนี้เพราะสารพวกเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีช่วยเสริมสร้างหลอดเลือดให้แข็งแรง เพิ่มการยืดตัวของผนังหลอดเลือดทำให้ปรับตัวเข้ากับแรงดันระดับต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเทอรอล สารแคปไซซินช่วยป้องกันไม่ให้ตับสร้างคอเลสเทรอลชนิดไม่ดี ( LDL)
4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
5. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด
6. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพและอารมณ์ที่ดี
สรรพคุณของพริกชี้ฟ้า
สารแคปไซซิน ( capsaicin) ในพริกชี้ฟ้าทำให้เจริญอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ บำรุงธาตุ นำมาดองสุราหรือบดผสมวาสลิน ใช้ทาถูนวด ทาแก้เคล็ดขัดยอก แก้ปวดตามข้อฟกช้ำดำเขียว ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และยังมีวิตามินเอสูงซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ต้น ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบชะพลู (ชะพลู)
ชะพลู หรือ ใบชะพลู อีกหนึ่งผักที่จัดว่าเป็นสมุนไพรแต่โบร่ำโบราณกันเลยทีเดียวค่ะ เพราะคนไทยสมัยก่อนมักนิยมนำใบชะพลูมาเคี้ยวหมากกันหรือที่รู้จักกันดีในนาม "หมากพลู" นั่นเองค่ะ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง สรรพคุณของใบชะพลู และ ประโยชน์ของใบชะพลู กันค่ะว่ามีอะไรบ้างค่ะ ประโยชน์ของใบชะพลู นั้นคนส่วนใหญ่มักจะนำมารับประทานและอาหารที่คนไทยรู้จักกันดีที่นำใบชะพลูมาใช้นั่นก็คือ เมี่ยงคำ นั่นเองค่ะ และนอกจากนี้ สรรพคุณของใบชะพลู ยังช่วยในการรักษาโรคได้อีกด้วย
สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบชะพลู (ชะพลู)
คุณค่าทางอาหารของใบชะพลู
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู
ประโยชน์ของใบชะพลู
ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
สรรพคุณของใบชะพลู
- ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
- ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
- ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
- ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก
ข้อควรระวัง
อย่างไรก็ตามใบชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือ ไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไปเพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะเว้นระยะบ้างเชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของดอกขจร
ดอกขจร อีกหนึ่งสมุนไพรที่จัดว่ามีคุณค่าที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ ได้ดีทีเดียวค่ะ และวันนี้เราก็นำ สรรพคุณของดอกขจร และ ประโยชน์ของดอกขจร มาบอกคุณ ๆ ผู้รักสุขภาพกันอีกเช่นเคยค่ะ ดอกขจรส่วนใหญ่นั้นจะนำมาลวกน้ำร้อนจิ้มกินกับน้ำพริกเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ใครที่ชอบกินดอกขจรเป็นประจำนับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย

สรรพคุณ / ประโยชน์ของดอกขจร
คุณค่าทางอาหารของดอกขจร
ทั้งยอดอ่อน ผลอ่อน และดอกของขจรสามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะใช้เป็นผักต้มหรือผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำเป็นอาหารอื่น ๆ เช่น แกงส้มดอกขจร ยำดอกขจร แกงจืดดอกขจร ข้าวต้มดอกขจร เป็นต้น และส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารมากที่สุดคือส่วนยอดอ่อน ทั้งนี้ดอกขจรมีคุณค่าวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง
ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
สรรพคุณของดอกขจร และ ประโยชน์ของดอกขจร
- ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
- มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน รักษาหวัดที่เกิดจากการตากลมหรืออากาศเย็น ช่วยบำรุงตับ บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงฮอร์โมนของสตรี ช่วยขับเสมหะ และแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
- ราก เป็นเครื่องยาสมุนไพรใช้หยอดรักษาตา อีกทั้งมีสรรพคุณทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา ดับพิษได้

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของกุยช่าย (ผักกุยช่าย)
กุยช่าย หรือ ผักกุยช่าย อีกหนึ่งผักที่มีประโยชน์และสรรพคุณมาก ๆ เลยค่ะ สรรพคุณของกุยช่ายและประโยชน์ของกุยช่ายจัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่ช่วยรักษาได้หลายโรคเลยทีเดียวค่ะ และวันนี้เราก็นำความรู้ สรรพคุณของกุยช่าย และ ประโยชน์ของกุยช่าย

สรรพคุณ / ประโยชน์ของกุยช่าย
คุณค่าทางอาหารของกุยช่าย
- ต้นกุยช่าย 100 กรัม ให้พลังงาน 28 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.1 กรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 46 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 136.79 ไมโครกรัม เส้นใย 3.9 กรัม
- ดอกกุยช่าย 100 กรัม ให้พลังงาน 38 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.3 กรัม แคลเซียม 31 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม เกล็ก 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 152.92 ไมโครกรัม เส้นใย 3.40 กรัม
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของกุยช่าย (ผักกุยช่าย)
- ต้นและใบ ใช้แก้โรคนิ่วโดยนำมาดตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าและสารส้มเล็กน้อยกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก ทาท้องเด็ก แก้ท้องอืด และแก้ลมพิษ สตรีหลังคลอด หากกินแกงเลียงใบกุยช่ายจะช่วยเพิ่มน้ำนม
- เมล็ด เป็นยาขับพยาธิเส้นด้ายและพยาธิแส้ม้า นอกจากนี้กุยช่ายยังให้กากอาหารช่วยสร้างสมดุลแก่ระบบย่อยอาหารช่วยให้ท้องไม่ผูก
- แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และแก้ท้องผูก โดยใช้ใบสดตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำดื่มหรือนำไปผัดรับประทาน เพราะกุยช่ายมีใยอาหารมากจึงช่วยกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวได้ดี
- แก้อาการฟกช้ำ โดยใช้ใบสดตำละเอียดแล้วพอกบริเวณที่มีอาการเพื่อบรรเทาปวดและแก้อาการห้อเลือดได้
- แก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย โดยใช้เมล็ดแห้งต้มรับประทานหรือจะทำเป็นยาเม็ดรับประทานก็ได้
- รักษาโรคหูน้ำหนวก โดยใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดทาในรูหู
- บำรุงน้ำนม คนไทยโบราณเชื่อว่า แม่ลูกอ่อนกินแกงเลียงใส่ผักกุยช่ายจะช่วยบำรุงน้ำนมได้ดี
ตำรับยาที่ใช้ได้แก่ หากถูกตีฟกช้ำเอากุยช่ายสดตำให้แหลกพอกบริเวณที่เป็นจะสามารถแก้อาการฟกช้ำ ห้อเลือดและแก้ปวดได้ หรือเวลาที่เป็นแผลมีหนองเรื้อรัง ใช้ใบสด ๆ ล้างให้สะอาดพอกที่แผลหรืออาจผสมดินสอพองในอัตราส่วนใบกุยช่าย 3 ส่วน ดินสองพอง 1 ส่วน บดให้ละเอียดจนเหลวข้นแล้วทาบริเวณที่เป็นวันละ 2 ครั้ง ในกรณีที่บวมฟกช้ำเนื่องจากถูกกระแทก
ส่วนคนที่เป็นแผลริดสีดวงทวารก็แนะนำให้ใช้ใบกุยช่ายสด ๆ ใส่น้ำต้มให้ร้อน จากนั้นนั่งเหนือภาชนะเพื่อให้ไอรมจนน้ำอุ่นหรือใช้น้ำต้มล้างที่แผลวันละ 2 ครั้ง หรือจะใช้ใบหั่นฝอยคั่วให้ร้อนใช้ผ้าห่อมาประคบบริเวณที่เป็นจะทำให้หัวริดสีดวงหดเข้านอกจากฤทธิ์ลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแล้วยังเชื่อว่า ถ้าแมลงหรือตัวเห็บเข้าหูให้เอาน้ำคั้นกุยช่ายหยอดเข้าไปในหูจะทำให้แมลงหรือเห็บไต่ออกมาเองในกรณีนี้ห้ามใช้นิ้วหรือของแข็งแคะออก
-กุยช่ายยังเป็นสมุนไพรที่ผู้หญิงควรรู้จักสรรพคุณในการใช้เป็นอย่างยิ่ง คือ ถ้าเมื่อใดมีอาการตกขาวคนจีนแนะนำให้เอาต้นกุยช่าย ไข่ไก่ น้ำตาลอ้อย ต้มรับประทาน เมื่อผู้หญิงเริ่มท้องก็ควรรับประทานใบกุยช่ายผัดกับตับหมู เมื่อท้องมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เอาน้ำคั้นกุยช่ายครึ่งถ้วยและน้ำขิงอีกครึ่งถ้วยผสมกันและนำไปต้มจนเดือดแล้วเติมน้ำตาลตามใจชอบดื่นน้ำยาที่ได้

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง (กะหล่ำปลีแดง)
กะหล่ำปลีม่วง หรือ กะหล่ำปลีแดง นั้นคือ ผักกะหล่ำชนิดเดียวกันนะค่ะ เพียงแต่บางคนมักจะเรียกชื่อต่างกันออกไป เช่นบางคนมักเรียกว่า กะหล่ำปลีม่วง กะหล่ำปลีสีม่วง กะหล่ำปลีแดง กะหล่ำปลีสีแดง จะเรียกแบบไหนก็ไม่ผิดค่ะ วันนี้เราจึงนำความรู้ทางสมุนไพรสรรพคุณกะหล่ำปลีม่วงและประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง คนส่วนใหญ่มักจะนำกะหล่ำปลีมม่วงนี้มาทำสลัดกินกันเยอะเลยค่ะ นั้นเราอย่ารอช้ามาดูสรรพคุณกะหล่ำปลีม่วงและประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วงที่เรารวบรวมข้อมูล

สรรพคุณ / ประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง
คุณค่าทางอาหารของกะหล่ำปลีม่วง
ด้วยเนื้อผักกรุบกรอบของกะหล่ำปลีสีม่วงมีสารอินไทบินที่ออกรสขมกว่ากะหล่ำปลีสีขาวธรรมดา แต่สารอินไทบินัวนี้มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงตับ ถุงน้ำดี ไต และกระเพาะดีขึ้น นอกจากนี้กะหล่ำปลีสีม่วงยังอุดมด้วยธาตุเหล็กจึงช่วยเสริมฮีโมโกลบินให้แก่ร่างกาย ซึ่งฮีโมโกลบินเป็นตัวการสำคัญที่นำพาออกซิเจนไปกับเม็ดเลือดแดงเพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆในกะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนินสามารถรักษาโรคกะเพาะอาหารและมีสารกอยโตรเจนที่ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก นอกจากนั้นยังพบว่า มีสารต้านมะเร็งโดยเฉพาะหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ มีการวิจัยพบกะหล่ำปลีใช้ประคบเต้านมลดปวดแก้นมคัดแม่หลังคลอด

สรรพคุณ / ประโยชน์ของกะหล่ำปลีม่วง (กะหล่ำปลีแดง)
กะหล่ำปลีแดงเป็นพืชที่มีเยื่อใยอาหารสูงและอุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน (สาร indols ซึ่งเป็นผลึกที่แยกมาจาก trytophan กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย) คาร์โบไฮเดรต โซเดียม วิตามินซีซึ่งพบค่อนข้างมากกว่า กะหล่ำปลีสีเขียวถึงสองเท่า ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันมีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่และต้านสารก่อมะเร็งที่เข้าสู่ร่างกาย

การกินกะหล่ำปลีบ่อย ๆ จะช่วยลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคลอเรสเตอรอลและช่วยงับประสาททำให้นอนหลับดี น้ำกะหล่ำปลีคั้นสด ๆ ช่วยรักษาโรคกะเพาะ อย่างไรก็ตามกะหล่ำปลีมีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมากจะไปขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้นำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย ดังนั้นไม่ควรกินกะหล่ำปลีสด ๆ วัยละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไปกะหล่ำปลีแดงนิยมรับประทานสด เช่น ในสลัดหรือนำมาตกแต่งจานอาหาร การนำมาประกอบอาหารไม่ควรผ่านความร้อนนาน เพราะจะทำให้สูญเสียวิตามินและคุณค่าอาหาร

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของถั่วฝักยาว


ประโยชน์ของถั่วฝักยาว
- ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำเป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
- เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
- เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสดจะมีรสชุ่มชื่นเป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว
- ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อใช้รักษาภายนอกโดยการพอกหรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทาใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
สรรพของถั่วฝักยาว
- ใบ ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง
- เปลือกฝัก ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอกและเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
- เมล็ด ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสดจะมีรสชุ่มเป็นยาบำรุงม้ามและไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอยและตกขาว
- ราก ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำหรือตุ๋นกับเนื้อกินใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกหรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทาหรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น
เคล็ดลับ
1. ใช้ฝักสดเคี้ยวกิน หรือตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำกิน ใช้รักษาอาการท้องอืดและแน่นเพราะกินมากเกินไป เรอเปรี้ยว
2. ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู นำมาตุ๋นกับเนื้อวัวกินสำหรับเด็กที่เบื่ออาหาร เนื่องจากกระเพาะอาหารทำงานไม่ดี
3. ใช้เมล็ด และผักบุ้งนำมาตุ๋นกับเนื้อไก่กินรักษาอาการตกขาวของสตรี
4. ใช้เมล็ดหรือฝักสดนำมาต้มน้ำผสมกับเกลือใช้กินทุกวันเพื่อเป็นยาบำรุงไต
ข้อห้ามใช้ : สำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกนั้น ไม่ควรจะนำเมล็ดมากิน

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของผักหวานป่า
ผักหวานป่า อีกหนึ่งพืชผักสมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณมาก ๆ เลยค่ะ คนส่วนใหญ่ชอบนำ ผักหวานป่า มาจิ้มกับน้ำพริก แต่วันนี้เราก็มีเรื่องของ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า มาฝากกันอีกเช่นเคย เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ขึ้นสิ่งดี ๆ ที่ร่างกายของคนเราควรจะได้รับจากพืชผักสมุนไพรต่าง ๆ ค่ะ ว่าแล้วเราก็มาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า กันบ้างดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และมีประโยชน์ต่อร่างกายเราอย่างไร และช่วยรักษาโรคอะไรได้บ้างนะ มาดูกันเลยดีกว่ากับ สรรพคุณของผักหวานป่า และ ประโยชน์ของผักหวานป่า

สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักหวานป่า
คุณค่าทางอาหารของผักหวานป่า
ผักหวานป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควรช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดท 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มก. วิตามินซี 115 มก. และค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ) อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมา เป็นไข้ และอาเจียนได้ การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้วอาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้เช่นกัน
ประโยชน์ของผักหวานป่า
ผักหวานป่าเป็นเครื่องยาไทยจำพวกผักจะใช้ส่วนรากมาทำยา รากมีรสเย็นสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย พบว่าผักหวานป่าจัดเป็นทั้งอาหารและยาประจำฤดูร้อนแก้อาการของธาตุไฟได้ตามแพทย์แผนไทย ส่วนยอดก็นิยมนำมาปรุงอาหารมีรสหวานกรอบช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำและระบายความร้อนหรือใช้ปรุงเป็นยาเขียวเพื่อลดไข้ ลดความร้อน ปัจจุบันพบว่ามีการนำมาพัฒนาเป็นชาผักหวานป่าทำเป็นเครื่องดื่มต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณของผักหวานป่า
ส่วนของลำต้นจะใช้แก่นผักหวานต้มรับประทานน้ำเป็นยาแก้ปวดตามข้อหรือปานดงหรือจะใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังคลอดบุตร รากต้มรับประทานน้ำเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนในแก้น้ำดีพิการและแก้ปวดมดลูก
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : ลำต้น ใช้ประโยชน์ในทางเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่ง ยอดอ่อน ดอกอ่อน และ ผลอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ต้ม ผัด แกง ทอด ส่วน ผลสุกนำมาต้มให้สุกและรับประทานเนื้อข้างใน
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของเห็ดหอม
เห็ดหอม จัดเป็นเห็ดราคาแพงโดยเฉพาะเห็ดหอมแห้งจะมีหลายเกรดเลยทีเดียวค่ะ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง สรรพคุณของเห็ดหอม และ ประโยชน์ของเห็ดหอม ค่ะ เห็นหอมนั้นจะมีสองแบบคือ เห็ดหอมแห้ง กับ เห็ดหอมสด ค่ะ เห็ดหอมแห้งก็คือเห็ดหอมที่นำมาตากแห้งสามารถเก็บไว้ได้นานก่อนนำมารับประทานหรือปรุงอาหารต้องแช่น้ำก่อนจะเหมือนเห็นหอมสดเลยค่ะ ส่วนเห็ดหอมสดก็คือเห็ดหอมที่ไม่ผ่านการตากแห้งแต่สามารถนำมาปรุงอาหารโดยไม่ต้องแช่น้ำค่ะ แต่เอ๊...อย่าเข้าใจผิดว่าไม่ล้างน้ำนะค่ะ และเห็นหอมยังมีคุณค่าทางอาหารที่มากและยังมี สรรพคุณของเห็ดหอม และ ประโยชน์ของเห็ดหอม ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดู สรรพคุณของเห็ดหอม และ ประโยชน์ของเห็ดหอม กันเลยดีกว่าค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ของเห็ดหอม
สรรพคุณของเห็ดหอม
คนจีนใช้เห็ดหอมเป็นอายุวัฒนะรักษาหวัดทำให้เลือดลมดี แก้โรคหัวใจ ป้องกันการเติบโตของเนื้อร้าย ต้านพิษงู ป้องกันโรคเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง โรคร้ายจากเชื้อไวรัส เห็ดหอมมีกรดอะมิโนชื่อ eritadenine ช่วยให้ไตย่อยโคเลสเตอรอลได้ดี มีสารเลนติแนน (Lentinan) ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก
ประโยชน์ของเห็ดหอม
บำรุงสมอง เพิ่มความสดชื่น คึกคัก ลดคอเลสเตอรอล ช่วยในระบบย่อยอาหาร ป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว ต้านมะเร็ง รักษาหอบหืด ลดความเครียด ต้านไวรัส บำรุงระบบประสาท ช่วยให้หลับง่าย บำรุงปอด บำรุงหลอดลม ชะลอความชรา ฯลฯ ควรบำรุงสุขภาพด้วยการนำเห็ดหอมมาปรุงอาหารทุก ๆ สัปดาห์เป็นประจำ โดยนำมาปรุงเป็นอาหารจานผัด ๆ ต้ม ๆ แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากจนเกินไป
คุณค่าทางอาหารของเห็ดหอม
- เห็ดหอมสด 100 กรัม ให้พลังงาน 387 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 67.5 กรัม โปรตีน 17.5 กรัม ไขมัน 8.0 กรัม เส้นใย 8.0 กรัม วิตามินบี1 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี2 4.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 4.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 98 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 476 มิลลิกรัม เหล็ก 8.5 มิลลิกรัม
- เห็ดหอมแห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 375 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
คาร์โบไฮเดรต 82.3 กรัม โปรตีน 10.3 กรัม ไขมัน 1.9 กรัม เส้นใย 6.5 กรัม วิตามินบี1 0.4 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.9 มิลลิกรัม ไนอะซิน 11.9 มิลลิกรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 171 มิลลิกรัม เหล็ก 4.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของถั่วงอก
เมื่อพูดถึง "ถั่วงอก" หลายคนอาจจะกำลังรู้สึกถึงผัดถั่วงอกกันอยู่ใช่ไหมค่ะ แต่วันนี้เราไม่ได้มาผัดถั่วงอกนะค่ะแต่เรานำความรู้ สรรพคุณของถั่วงอก และประโยชน์ของถั่วงอกมาบอกคุณ ๆ ต่างหากล่ะค่ะ แม้ว่า ผักถั่วงอก จะมีราคาที่ค่อนข้างจะถูกและได้เยอะก็อย่าไปดูถูกว่าไม่มี สรรพคุณของถั่วงอก และ ประโยชน์ของถั่วงอก ล่ะนะค่ะ เพราะขอบอกว่า สรรพคุณของถั่วงอก และ ประโยชน์ของถั่วงอก นั้นมีมากมายเกินกว่าที่คุณคิดเอาไว้นัก ที่สำคัญกินถั่วงอกยังทำให้ดูอ่อนเยาว์อีกด้วยนะค่ะ อยากรู้คุณสมบัติของ ถั่วงอก กันแล้วใช่ไหมค่ะ นั้นเราก็มาดูสรรพคุณของถั่วงอกและประโยชน์ของถั่วงอกกันเลย
สรรพคุณ / ประโยชน์ของถั่วงอก
-กระบวนการงอกทำให้โมเลกุลของสารอาหารในเมล็ดเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย โปรตีนเป็นกรดอะมิโนแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคลสและไขมันเป็นกรดไขมัน เพราะกระบวนการงอกได้ช่วยย่อยสารอาหารมาแล้วชั้นหนึ่ง ถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยง่ายมากเท่ากับช่วยประหยัดการทำงานให้กับระบบย่อยาหารลดของเสียและสิ่งตกค้าง (toxin) ในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไปร่างกายจึงเสื่อมช้าไม่แก่เร็ว
-ถั่วงอกย่อยง่ายจะมีความสำคัญสำหรับใครแค่ไหนต้องพิจารณาแบบแผนการกินโดยรวมของผู้นั้นประกอบไปด้วย คิดแต่จะกินถั่วงอกแต่เดียวโดด ๆ ไม่ได้ สำหรับนักมังสวิรัติถั่วงอกเป็นผักชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ประสานสอดคล้องกับผักและอาหารมังสวิรัติอื่น ๆ ในทิศทางที่เกื้อต่อสุขภาพโดยรวมหากผู้ใดมีแบบแผนการกินที่พาเอาแต่อาหารย่อยยาก อาหารมีพิษเข้าร่างกาย การกินถั่วงอกในบางครั้งก็ไม่มีทางแก้ร้ายให้เป็นดี
-ถั่วงอกมีโปรตีนสูงกว่าถั่วธรรมดาหรือไม่ นักนิยมถั่วและเมล็ดงอกมักอ้างว่ากระบวนการงอกทำให้ปริมาณโปรตีนมีสูงขึ้น แต่หลักฐานสนับสนุนยังไม่แข็งแรงมีน้ำหนักนักผลการวิจัยที่ยอมรับกันกว้างขวางมีเฉพาะเมล็ดข้าวโพดงอก ซึ่งพบว่า การงอกทำให้มีกรดโปรตีนที่จำเป็นสำหรับร่างกายเพิ่มมากขึ้น (กรดไลซินและไตรโทปันซึ่งไม่พบในเมล็ดข้าวโพดแห้ง) อย่างไรก็ตามอาจสรุปได้ว่าโดยทั่วไปโปรตีนของถั่วงอกมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย (จาก 2% เป็น 5%)
ผักดั้งเดิมที่รู้จักกันมานานแสนนานก็คือ ถั่วงอก มีลักษณะสีขาวลำต้นยาว ๆ ที่งอกออกมาจากเมล็ดถั่วเขียว วิธีการปลูกก็ไม่ยาก สามารถทำด้วยตัวเองได้เพียงแค่มีกระกระดาษทิชชูหรือสำลีที่ชุบน้ำหมาด ๆ และโรยเมล็ดถั่วเขียวลงไปรออีกไม่กี่วันก็งอกออกมาเป็นถั่วงอกแล้ว
เห็นถั่วงอกเป็นต้นเล็ก ๆ แบบนี้อย่าคิดว่ามันไม่มีคุณค่า คุณค่ามันมีมากเช่น เมื่อเรานำถั่วเหลืองมาเพาะเป็นถั่วงอกจะมีวิตามินซีสูง ส่วนโปรตีนในถั่วงอกจะมีมากกว่าถั่วธรรมดาเล็กน้อย นอกจากนั้นก็มีวิตามินบี12 ซึ่งจำเป็นต่อการเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ ถั่วงอกมีธาตุเหล็กที่ร่างกายย่อยง่ายกว่าผักอื่น ๆ และยังมีวิตามินบี 17 และสารเลซิธินที่ช่วยบำรุงประสาทและการทำงานของสมอง
เนื่องจากว่าถั่วงอกให้วิตามินซีสูงการแพทย์จีนจึงนำถั่วงอกหัวโตไปต้มในแกงจืดกินซึ่งมีคุณสมบัติช่วยขับเสมหะ ทำให้ปอดโล่งและขับปัสสาวะ ส่วนโมเลกุลของสารอาหารในเมล็ดถั่วงอกในร่างกายเราสามารถเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในลักษณะที่ร่างกายย่อยง่าย โปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนแป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตธรรมดาหรือกลูโคส และไขมันเป็นกรดเรียบร้อยแล้วถั่วงอกจึงเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่ายมาก ดังนั้น การรับประทานถั่วงอกจะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนักลดของเสียและสิ่งตกค้างในร่างกาย เมื่อระบบร่างกายไม่ต้องทำงานหนักเกินไปก็ทำให้ร่างกายเสื่อมช้าไม่แก่เร็ว
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของน้ำเต้า
น้ำเต้า หรือบ้างคนก็เรียกว่า ผักน้ำเต้า คุณรู้ไหมว่า สรรพคุณของน้ำเต้า และ ประโยชน์ของน้ำเต้า นั้นมีไม่แพ้กับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ เลย แม้ว่ามีผักน้ำเต้าดูจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับคนไทยมากนักแต่ก็มีไม่น้อยเลยที่เลือกรับประทานผักน้ำเต้าเป็นหลัก และวันนี้เราก็นำความรู้ใน สรรพคุณของน้ำเต้า และ ประโยชน์ของน้ำเต้า มาฝากคุณ ๆ กันอีกเช่นเคยค่ะ อยากรู้ สรรพคุณของน้ำเต้า และ ประโยชน์ของน้ำเต้า กันแล้วรึยังเอ่ยถ้าอยากรู้ก็มาดูกันเลยค่ะ
สรรพคุณ / ประโยชน์ของน้ำเต้า
ประโยชน์ของน้ำเต้า
- แพทย์แผนไทยใช้รากน้ำเต้า ขมเป็นยาแก้ดีแห้ง ขับน้ำดีให้ตกลำไส้ ใบน้ำเต้าเป็นยาดับพิษ แก้ตัวร้อน ร้อนในกระหายน้ำ พบว่ายาเขียวทุกชนิดมักเข้าใบน้ำเต้าหมด
- น้ำเต้าเป็นยาภายนอก นำใบสดโขลกผสมกับเหล้าขาวทาถอนพิษร้อน แก้ฟกช้ำ บวม แก้อาการพองตามตัว แก้เริม งูสวัดได้ดีมาก
- ชาวอินเดียใช้ประกอบอาหารให้ผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันเลือด บทความต่างประเทศกล่าวถึงฤทธิ์ขับปัสสาวะของเปลือกลำต้นและเปลือกผลน้ำเต้า
- น้ำคั้นผลมีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหารบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อยและแผลกระเพาะอาหาร ที่ประเทศจีนและอินเดียมีการกินน้ำเต้าเพื่อควบคุมเบาหวานมีเว็บไซต์เสนอเมนูคุมเบาหวานใช้น้ำเต้าหลายแห่ง

สรรพคุณของน้ำเต้า
- โรคเบาหวาน
- ท่อปัสสาวะอักเสบ
- โรคปอดอักเสบ จะใช้ส่วนที่เป็นเปลือกสดรับประทาน
- แก้ปวดฝีในเด็ก โดยใช้น้ำเต้าหั่นเป็นชิ้น ๆ ผสมขิงต้มเป็นน้ำซุปรับประทาน
- โรคลูกอัณฑะบวมให้ใช้ลูกน้ำเต้ามาต้มรับประทาน
- โรคทางลำคอให้ใช้ลูกน้ำเต้าที่แก่ ๆ ตัดจุก แล้วใส่น้ำไว้รับประทานเป็นโรคประจำจะสามารถป้องกันรักษาโรคทางลำคอได้
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของข้าวโพดอ่อน
ข้าวโพดอ่อน อีกหนึ่งผักที่มีประโยชน์และสรรพคุณม๊าก...มากค่ะ มีหลายท่านชอบทานข้าวโพดอ่อนกันอยู่แล้วใช่ไหมค่ะ วันนี้เราจึงนำเรื่องดี ๆ สรรพคุณของข้าวโพดอ่อน และประโยชน์ของข้าวโพดอ่อนมาฝากคุณ ๆ กันค่ะ ข้าวโพดอ่อนนั้นคุณพ่อบ้านและคุณแม่บ้านมักจะใช้ในการปรุงอาหารหลากหลายอย่าง ใช้ต้มน้ำซุปจะช่วยเพิ่มรสชาติให้ซุปหวานขึ้นอีกด้วยค่ะ เอาล่ะค่ะเรามาทำความรู้จักกับ สรรพคุณของข้าวโพดอ่อน และ ประโยชน์ของข้าวโพดอ่อน กันเลยดีกว่าค่ะ
สรรพคุณ / ประโยชน์ของข้าวโพดอ่อน
ข้าวโพดอ่อนจะประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต เบต้าแคโรทีน วิตามินซี แคลเซียม เส้นใยอาหาร ฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบกับแคลเซียมในการสร้างกระดูกและฟันช่วยให้การหลั่งน้ำนมเป็นไปตามปกติ ช่วยสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อรวมกับธาตุอื่นรักษาสมดุลความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย ถ้ากินข้าวโพดอ่อนเป็นประจำจะช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือด ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยย่อยอาหาร ลดอาการบวมน้ำ รักษาโรคไตอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และจมูกอักเสบเรื้อรัง ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้กระเพาะและลำไส้ทำงานได้ดีอีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของข้าวโพดอ่อน
ข้าวโพดอ่อน 100 กรัม ให้พลังงาน 33 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 91.8 กรัม โปรตีน 2.3 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 5.3 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 25 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 12 ไมโครกรัม ไทอะมิน 0.13 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม
"ข้าวโพดอ่อน" มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ประกอบไปด้วยสารอาหาร ดังนี้
- คาร์โบไฮเดรต "ข้าวโพดอ่อน" มีคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 72 ข้าวโพดหนัก 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่
- ไขมัน เมล็ดข้าวโพดมีไขมันอยู่ร้อยละ 4 มีฤทธิ์ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลช่วยลดความดันโลหิตสูง
- โปรตีน โปรตีนในข้าวโพดเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ เพราะจากกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือไลซีนและทริบโตฟานควรรับประทานข้าวโพดร่วมกับถั่วเมล็ดต่าง ๆ
- วิตามิน อุดมด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 รวมไปถึงเกลือแร่ด้วย
สรรพคุณ และ ประโยชน์ของถั่วพู
ถั่วพู หรือ ผักถั่วพู อีกหนึ่งผักที่มีคุณค่าทางอาหารที่ดีต่อร่างกายและมีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรได้อีกด้วยค่ะ และวันนี้เราก็นำความรู้ของ สรรพคุณของถั่วพู และ ประโยชน์ของถั่วพู

สรรพคุณ / ประโยชน์ของถั่วพู
ประโยชน์ของถั่วพู
การกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมากทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้วหัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลืองนำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย

คุณค่าทางอาหารของถั่วพู
ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วพู
- หัวใช้บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไข้กาฬ
- ราก แก้โรคลมพิษกำเริบ ดีฟุ่ง ทำให้คลั่งเพ้อ ปวดท้อง ถั่วพูใช้รักษาสิวและโรคผิวหนังบางชนิด
- ตำรายาโบราณว่า ให้นำเมล็ดถั่วพลูมาต้มโดยคัดเอาเฉพาะเมล็ดแก่สีน้ำตาลเข้มจะรับประทานเมล็ดที่ต้มสุกเลยก็ได้ หรือนำเมล็ดที่ต้มสุกมาบดให้ละเอียดผสมน้ำสุกดื่มก่อนอาหาร 3 เวลา จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงเพิ่มกำลังวังชา



สรรพคุณ และ ประโยชน์ของผักโขม
ผักโขม ใครว่าขมไม่จริ๊ง...ไม่จริง...จริง ๆ ก็ขมแบบผักธรรมดาทั่ว ๆ ไปนั้นแหละอย่าเข้าใจผิดกันนะจ๊ะ แต่ต้องขอบอกค่ะว่า สรรพคุณของผักโขม และ ประโยชน์ของผักโขม นั้นมีมาก ๆ ไม่แพ้พืชผักสมุนไพรไหน ๆ เลยค่ะ และวันนี้เราก็นำความรู้ของ สรรพคุณของผักโขม และ ประโยชน์ของผักโขม มาบอกกล่าวให้คุณ ๆ ได้ฟังกันด้วยค่ะ ต่อไปจะได้หันมาทาน ผักโขม กันเยอะ ๆ นะค่ะ นั้นเรามาดูสรรพคุณของผักโขมและประโยชน์ของผักโขมกันเลยดีกว่านะค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ของผักโขม
คุณค่าทางอาหารของผักโขม
- ผักโขมเป็นผักใบเขียวที่อุดมด้วยวิตามินเอ กรดโฟเลต แคโรทีน วิตามินซี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี โปรตีน และไฟเบอร์
- ผักใบเขียวอย่างผักโขมเปี่ยมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกัน โรคมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปอด
- ผักโขมช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยชะลอความแก่ วิตามินเอช่วยบำรุงรักษาสายตา บำรุงกระดูกและฟัน วิตามินซีช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายให้ปลอดภัยจากโรค ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิว ผักโขมยงมีธาตุเหล็กสูง และช่วยบำรุงเลือดอีกด้วย
ประโยชน์ของผักโขม
- ผักโขมเป็นผักสุขภาพชั้นยอดในใบผักโขมเป็นแหล่งวิตามินเอ วิตามินซี กรดแอมิโน และสารอาหารอื่น ๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง
- นอกจากนั้นในผักโขมยังมีเบต้าแคโรทีนสูงมีสารซาโปนินที่ช่วยลดคอลเลสเทอรอลในเลือดอีกด้วย ผักโขมยังมีเส้นใยอาหารมากจึงช่วยระบบขับถ่ายและลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
นอกจากนี้จากการวิจัยยังพบว่า เมล็ดผักโขมที่ชาวตะวันตกชอบรับประทานนั้น มีคุณค่าโปรตีนและแคลเซี่ยมที่สูงกว่าน้ำนม อีกทั้งให้กรดแอมิโนชื่อไลซีนมากกว่าที่ได้จากข้าว หรือข้าวสาลีอีก
สรรพคุณของผักโขม
- ผักโขมใบสดมีสรรพคุณรักษาแผลพุพอง ต้นมีสรรพคุณแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ และรากช่วยดับพิษร้อนถอนพิษไข้ขับถ่ายปัสสาวะ
- ผักโขม หั่นรากปรุงเป็นยาถอนพิษร้อน แก้คันถอนพิษไข้ แก้เสมหะขับปัสสาวะมักจะใช้เป็นยาสมุนไพร่วมกับผักโขมหิน
- ผักโขมหนาม รากผักโขมหนามเป็นยา แก้ตกเลือด แก้ฝี แก้ขี้กลาก เป็นยาขับน้ำนม แก้แน่นท้อง แก้พิษ แก้ช้ำใน แก้ไข้ระงับความร้อน แก้เด็กลิ้นเป็นฝ้าละอองเบื่ออาหาร

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบแมงลัก
ใบแมงลัก อีกหนึ่งสมุนไพรคู่ครัวคนไทยมาช้านาน สรรพคุณของใบแมงลัก และประโยชน์ของใบแมงลักมีมากมายไม่แพ้ผักชนิดไหน ๆ เลยค่ะ ประโยชน์ของใบแมงลัก นั้นคุณพ่อบ้านแม่บ้านมักจะนำมาปรุงกับอาหารจำพวกอ่อมเป็นส่วนใหญ่ นอกจาก ประโยชน์ของใบแมงลัก แล้วเราก็ยังมี สรรพคุณของใบแมงลัก ที่เป็นสมุนไพรมาบอกเล่าเก้าสิบให้ฟังกันอีกด้วยนะค่ะ นั้นเรามาดูสรรพคุณของใบแมงลัก และ ประโยชน์ของใบแมงลัก กันเลยดีกว่าค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบแมงลัก
ประโยชน์ของใบแมงลัก
ใบแมงลักมีน้ำมันหอมระเหยราวร้อยละ 0.7 น้ำมันหอมระเหยที่เป็นส่วนประกอบหลักคือซิทรัล (citral) ต่างประเทศใช้ใบแมงลักแต่งกลิ่นอาหาร เนื่องจากมีกลิ่นมะนาวจึงมักใช้แต่งกลิ่นอาหารจำพวกปลาและไก่ในอาหารฝรั่ง

คุณค่าทางอาหารของใบแมงลัก
ใบแมงลัก 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญดังนี้
แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม
เหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม
ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม
เส้นใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม
ไขมัน 0.8 กรัม โปรตีน 2.9 กรัม
พลังงาน 32 แคลอรี
สรรพคุณของใบแมงลัก
- ขับลมในลำไส้ อาหารไม่ย่อย อาการอึดอัด แน่นไม่สบายท้อง ให้นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
- ขับเหงื่อ เมื่อมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัวไม่ค่อยสบาย นำต้นและใบแมงลักต้มน้ำดื่ม
- บรรเทาอาการหวัด อาการคัดจมูก น้ำมููกไหล หลอดลมอักเสบ ใช้ใบแมงลัก 1 กำมือล้างสะอาดโขลกคั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไลบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับกรณีของหลอดลมอักเสบให้คั้นน้ำดื่ม 1 ถ้วยตะไล 3 เวลาเช้า-กลางวัน-เย็น
- บรรเทาอาการผื่นคัน พิษจากพืช พิษสัตว์กัดต่อยหรืออาการคันจากเชื้อรา ใช้ใบแมงลักสดโขลกพอกบริเวณที่มีอาการและเปลี่ยนยาบ่อย ๆ

- แก้ท้องร่วงท้องเสีย ใบแมงลักสัก 2 กำมือ ล้างสะอาด โขลกบีบคั้นน้ำดื่ม แก้ท้องร่วงได้
- เพิ่มน้ำนมแม่ ให้แม่ที่ให้นมลูกกินแกงเลียงหัวปลี ใส่ใบแมงลักและให้ลูกดูดหัวน้ำนมบ่อย ๆ เพิ่มการสร้างน้ำนมแม่
- บำรุงสายตา ใบแมงลักมีวิตามินเอสูง การกินใบแมงลักเป็นประจำช่วยบำรุงสายตา

- บำรุงเลือด แก้โลหิตจาง ใบแมงลักอุดมด้วยธาตุเหล็กช่วยบำรุงโลหิต

- เสริมสร้างกระดูก ใบแมงลักมีแคลเซียมสูงช่วยบำรุงกระดูก

- เป็นยาระบาย ใช้เมล็ดแก่ของแมงลักสัก 1 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ปล่อยให้พองตัวดีแล้วเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มแก้ท้องผูก แนะนำให้ใช้กับหญิงตั้งครรภ์และแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมตนเองที่ไม่ต้องการภาวะท้องผูกเพราะเป็นการแก้ปัญหาแบบธรรมชาติ

- ใช้ลดความอ้วน เปลือกผล (ที่เรียกเมล็ดแมงลัก) มีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกาก ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชาแช่น้ำ 1 แก้ว ทิ้งไว้จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนมื้ออาหารครึ่งชั่วโมงดื่มน้ำตามช่วยให้กินอาหารได้น้อยลง ลดปริมาณพลังงานอาหารช่วยให้อุจจาระอ่อนตัวจำนวนครั้งในการขับถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้นลดอาการท้องผูกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น